วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

12 ธันวาคม 2556

12   ธันวาคม   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน



ความรู้ที่ได้รับ

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • การเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมตัวทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • พัฒนาการอยู่กับที่
  • พัฒนาการถดถอย
  • เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กในวัยปกติ
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน หรือทุกด้าน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก
  • ปัจจัยด้านชีวภาพ  
  • ก่อนคลอด
  • ระหว่างคลอด
  • หลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • โรคทางพันธุ์กรรม  พัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาไม่นานหลังจากเกิดมักมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น หูหนวก + ตาบอด
  • โรคทางระบบประสาท พบบ่อยคือ อาการชัก
  • การติดเชื้อ ติดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ ตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเม็ดเมตาบลลิซึม
  • ภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่เกิด เกิดก่อนกำหนด ภาวะขาดออกซิเจน
  • สารเคมี ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็ก
  • การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดสารอาหาร
แนวทางในการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • ซักประวัติ
  • ตรวจร่างการ
  • การประเมินพัฒนาการ


วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

5 ธันวาคม 2556

 5   ธันวาคม   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วันพ่อแห่งชาติ

ประวัติ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
  • เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
  • เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของต

กิจกรรม

  • ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน
  •  จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
  •  จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

28 พฤศจิกายน 2556

 28   พฤศจิกายน   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์



           บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบุคคลทั่วไป และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับกันทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งขาดสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีความคับข้องใจ มีการเก็บกดทางอารมณ์โดยแสดงออกทางร่างกาย

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1.   ก้าวร้าว ก่อกวน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ มักแสดงออกในทางก้าวร้าว ก่อกวนความสงบของผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงออกอาจรวมไปถึงความโหดร้าย ทารุณสัตว์ ชกต่อย ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น หวีดร้อง กระทืบเท้า ไม่เชื่อฟังครูและพ่อแม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง
  2. การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หมายถึง ไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยปราศจากจุดหมาย นอกจากนี้ยังมีความสนใจสั้น สนใจในบทเรียนได้ไม่นาน ขาดสมาธิในการเรียน
  3. การปรับตัวทางสังคมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะมีการปรับตัวทางสังคมไม่ถูกต้อง ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การทำลายสาธารณสมบัติ ลักขโมย หนีโรงเรียน การประทุษร้ายทางเพศ พฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดกับเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่
  4. ความวิตกกังวลและปมด้อย เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์อาจไม่กล้าพูดกล้าแสดงออกในชั้นเรียน มีอาการประหม่าขาดความเชื่อมั่นในตนเอง พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่ค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นสม่ำเสมอเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นเด็กที่มีปัญหา
  5. การหนีสังคมหรือการปลีกตัวออกจากสังคมเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนอย่างหนึ่ง เช่น การที่เด็กไม่ค่อยพูด ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่ร่วมกิจกรรมขี้อาย ชอบอยู่คนเดียว บางคนเจ้าอารมณ์ บางคนแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม
  6. ความผิดปกติทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์จะมีผลการเรียนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่าน การสะกดคำ การคำนวณ การตัดสินว่าเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมนั้น ควรพิจารณาความรุนแรงและความส่ำเสมอควบคู่ไปด้วย การตัดสินควรใช้เกณฑ์เป็นหลักในการพิจารณา

 โรคออทิสติก


        โรคออทิสติกอยู่ในกลุ่ม พีดีดี (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ซึ่งแสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการทางด้านทางสังคมและภาษาบกพร่อง ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดไปจากปกติ
ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน หรือ พีดีดี หรือ ออทิสติก สเป็กตรัม (Autistic Spectrum Disorder) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1. ออทิสติก (Autistic Disorder)
2. เร็ทท์ (Rett’s Disorder)
3. ซีดีดี (Childhood Disintegrative Disorder)
4. แอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Disorder)
5. พีดีดี เอ็นโอเอส (Pervasive Developmental Disorder Not Otherwise Specified; PDD-NOS)
            นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ออทิสติก (Autistic Disorder) และ ออทิสซึม (Autism) ในปี พ.ศ. 2556 จะใช้ชื่อทางการในระดับสากลเหมือนกันทั่วโลก คือ Autism Spectrum Disorder ส่วนชื่อเรียกในภาษาไทย คือ ออทิสติก
           โรคนี้เป็นกลุ่มของโรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใด ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาและสังคม โดยความรุนแรงของแต่ละโรคในกลุ่มแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางภาษา ไอคิว (Intelligence Quotient) และความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมด้วย
จากการสำรวจพบว่าเด็กเป็นออทิสติกมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในผลสำรวจเด็กที่ป่วยพบว่า กลุ่มเสี่ยง จะอยู่กลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอด หรือหลังคลอด อย่างเช่น สมองของลูกทำงานผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว หลังคลอดเป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงจะเป็นเด็กพิเศษทุกคน และเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็อาจเป็นออกทิสติกได้เช่นกัน

เด็กเล็ก อายุ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี

การรักษาโรคออทิสติก

กลุ่มโรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษา คือ การส่งเสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง และให้เด็กมีภาวะที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด
หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี มีวิธีการรักษาที่เหมาะสม คือ บูรณาการ การรักษาด้านต่างๆเข้าด้วยกันตามความจำเป็นของเด็กแต่ละคน
พ่อแม่และคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กมาก แพทย์จะให้พ่อแม่ของเด็กเป็นผู้ร่วมรักษาด้วย และแนะนำให้พ่อแม่กลับไปสอนหรือปรับพฤติกรรมเด็กที่บ้านได้ด้วยตัวเอง และนำเด็กกลับมาประเมินผล รวมทั้งรับคำแนะนำใหม่กลับไปปฏิบัติ
ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการออทิสติกโดยตรง แต่เด็กบางคนแพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

สรุป

แม้ว่ากลุ่มโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่เด็กอาจจะโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่ม 1 ใน 3 ที่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และมีโอกาสที่จะอยู่ในกลุ่ม 1 - 2% ของผู้ป่วยโรคนี้ ที่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่จะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เด็กมีระดับไอคิวมากกว่า 70 หรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วม เด็กสามารถพูดสื่อสารได้ก่อนอายุ 5 ปี และไม่มีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก เป็นต้น
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เด็กได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น

เด็กพิการซ้ำซ้อน


                เด็กพิการซ้ำซ้อน หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่ง  อย่างในบุคคลเดียวกัน เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับบกพร่องทางการเห็นกับบกพร่องทางการได้ยิน หรือบกพร่องทางได้ยินกับบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น
              บุคคลที่มีความบกพร่องดังกล่าวต้องได้รับการโอกาสทางการศึกษาตามกระบวนการจัดการศึกษาพิเศษซึ่งในปัจจุบันองค์การของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายโดยมีศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดทุกจังหวัดมีโรงเรียนเฉพาะความพิการนอกจากนั้นยังขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนเรียนร่วมเพื่อให้บริการแก่เด็กพิการหรือผู้มีความบกพร่องที่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษอย่างทั่วถึงและมีการประสานงานร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการพัฒนาผู้พิการในทุก ๆ ด้าน
              ญาอ่อน-ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด  เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) เด็กบกพร่องซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญ
            เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อนซึ่งบางที่อาจเรียกว่าเด็กพิการซ้ำซ้อน (Multiple Handicapped Children ) หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องทางอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (เช่น เด็กร่างกายพิการ แขน ขา ลำตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อน เป็นต้น) มากกว่า 1 อย่าง ในบุคคลเดียวกัน เช่น  เด็กปัญญาอ่อน ที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด เป็นต้น เด็กเหล่านี้อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการส่งเข้าเรียนในโครงการสอนเด็กปัญญาอ่อน  โครงการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย โครงการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา โครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะโดยไม่จัดบริการทางการศึกษา และบริการด้านอื่นเพิ่มเติม 




21 พฤศจิกายน 2556

 21   พฤศจิกายน   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ



เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และทำกิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้ 
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่ 

1.1 ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจน ฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ 

1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic) 
1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้ 
1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
1.1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่  

2.1 โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
2.1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
2.5 โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)



เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดทั้งในเรื่องการเข้าใจภาษาที่คนอื่นพูดและพูดให้คนอื่นเข้าใจ เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรับรู้และเรียนรู้พัฒนาทักษะทุกๆ ด้าน
ความบกพร่องทางการพูดและภาษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.           กลุ่มที่พัฒนาภาษาและการพูดล่าช้าหรือไม่สมวัย ได้แก่
-                  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-                  เด็กสมองพิการ
-                  เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์
-                  เด็กเชาว์ปัญญาต่ำ
-                  เด็กที่ขาดกรกระตุ้นการพัฒนาภาษาและการรพูดจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อม
2.           กลุ่มเด็กอะเฟเซีย ( aphasis )
เป็นส่วนอาการที่แสดงถึงความบกพร่องทางภาษา อันเกิดจากสมาธิสภาพของสมองส่วนที่ควบคุมภาษาทำให้มีปัญหาทางภาษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการรับรู้ทางภาษาเป็นปัญหานำ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการแสดงออกทางภาษาเป็นปัญหานำ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาในการนึกคำพูด
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการรับรู้ทางภาษาและการแสดงออกททางภาษา





วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

14 พฤศจิกายน 2556

  14   พฤศจิกายน   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

การตกลงเรื่่องเกณฑ์การให้คะแนน




ความรู้ที่ได้รับ
           เด็กที่มีความต้องการพิเศษมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Children with special needs 
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการให้คำนิยามเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามลักษณะของการจัดให้บริการ โดยแยกลักษณะการให้บริการได้ดังนี้
             1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำ เนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการ แก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถให้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่อง อาจหมดไป
            2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
             สรุปคำว่า " เด็กที่มีความต้องการพิเศษ "  จึงหมายถึงการมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาดความสามารถอันเป็นผลมา จากการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญา และอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการ กระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะ กับลักษณะ และความต้องการของเด็ก

ประเภทของเด็กพิเศษ

  1. กลุ่มเด็กที่มีความสามารถสูง หรือเป็นเลิศทางปัญญา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มทีาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และพัฒนาตนเองได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถทางสติปัญญา หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา จะพบระดับสติปัญญาสูงกว่า 120 ขึ้นไป
  2. กลุ่กเด็กที่มีความบกพร่อง ด้วยความสามารถ กลุ่มนี้จำแนกได้ 9 ประเภทคือ
  1. เด็กที่มีบกพร่องทางสติปัญญา
  2. เด็กที่มีบกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กที่มีบกพร่องทางการเห็น
  4. เด็กที่มีบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  5. เด็กที่มีบกพร่องทางการพูดและภาษา
  6. เด็กที่มีพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  8. เด็กทีมีปัญหาทางออทสติก
  9. เด็กทีมีปัญหาพิการซ้ำซ้อน

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 

ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ดังนี้
  1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม เช่น การชันคอ
  2. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  3. ช่วงความไม่สนใจสั้น วอกแวก
  4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
  5. ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
  6. อดทน ต่อการรอคอยน้อย
  7. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
  8. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าการอ่าน
  9. การจำตัวอักษร หรือข้อความน้อยกว่าวัย
  10. มักมีปัญหาทางการพูด
  11. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
  12. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  13. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยเดียวกัน
  14. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า


 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ ดังนี้
  1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
  2. มักตะแคงหูฟัง
  3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
  5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  6. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  7. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  8. วลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
  11. ไม่ชอบร้องเพลงไม่ชอบฟังนิทานแต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
  12. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
  13. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้


เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น




ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องการใช้สายตา เช่นการเล่นช่อนหา
  3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  4. มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นใส้ ตาลาย คันตา
  5. ก้มศรีษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
  7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
  10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต



7 พฤศจิกายน 2556

7  พฤศจิกายน   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
ความรู้ที่ได้รับ


           เมื่อพูดถึง เด็กพิเศษ” (Special Child) หลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการบกพร่อง
             “เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน 

               การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น)
ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น 

3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับ

การดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น
เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนอง
ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดง
ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้ 

          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถ

              พิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ 
              ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 

          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทย

ได้แบ่งออกเป็น 9 กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน
3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 

ทั้งนี้ เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

กิจกรรมที่ทำในวันนี้






อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับ  "เด็กที่มีความต้องการพิเศษตามความคิดของเรา" ซึ่งนักศึกษาก็ได้แตกละเอียดเป็น May Mapping

สิ่งที่ต้องศึกษาหาเพิ่มเติม

  เด็กที่มีความต้องการพิเศษเราในฐานะคุณครูจะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร และเราควรรับมืออย่างไรถ้ามีเด็กพิเศษร่วมชั้นเรียนด้วย