วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

28 พฤศจิกายน 2556

 28   พฤศจิกายน   2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์



           บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบุคคลทั่วไป และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับกันทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งขาดสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีความคับข้องใจ มีการเก็บกดทางอารมณ์โดยแสดงออกทางร่างกาย

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1.   ก้าวร้าว ก่อกวน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ มักแสดงออกในทางก้าวร้าว ก่อกวนความสงบของผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงออกอาจรวมไปถึงความโหดร้าย ทารุณสัตว์ ชกต่อย ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น หวีดร้อง กระทืบเท้า ไม่เชื่อฟังครูและพ่อแม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง
  2. การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หมายถึง ไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยปราศจากจุดหมาย นอกจากนี้ยังมีความสนใจสั้น สนใจในบทเรียนได้ไม่นาน ขาดสมาธิในการเรียน
  3. การปรับตัวทางสังคมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะมีการปรับตัวทางสังคมไม่ถูกต้อง ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การทำลายสาธารณสมบัติ ลักขโมย หนีโรงเรียน การประทุษร้ายทางเพศ พฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดกับเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่
  4. ความวิตกกังวลและปมด้อย เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์อาจไม่กล้าพูดกล้าแสดงออกในชั้นเรียน มีอาการประหม่าขาดความเชื่อมั่นในตนเอง พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่ค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นสม่ำเสมอเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นเด็กที่มีปัญหา
  5. การหนีสังคมหรือการปลีกตัวออกจากสังคมเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนอย่างหนึ่ง เช่น การที่เด็กไม่ค่อยพูด ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่ร่วมกิจกรรมขี้อาย ชอบอยู่คนเดียว บางคนเจ้าอารมณ์ บางคนแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม
  6. ความผิดปกติทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์จะมีผลการเรียนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่าน การสะกดคำ การคำนวณ การตัดสินว่าเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมนั้น ควรพิจารณาความรุนแรงและความส่ำเสมอควบคู่ไปด้วย การตัดสินควรใช้เกณฑ์เป็นหลักในการพิจารณา

 โรคออทิสติก


        โรคออทิสติกอยู่ในกลุ่ม พีดีดี (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ซึ่งแสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการทางด้านทางสังคมและภาษาบกพร่อง ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดไปจากปกติ
ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน หรือ พีดีดี หรือ ออทิสติก สเป็กตรัม (Autistic Spectrum Disorder) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1. ออทิสติก (Autistic Disorder)
2. เร็ทท์ (Rett’s Disorder)
3. ซีดีดี (Childhood Disintegrative Disorder)
4. แอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Disorder)
5. พีดีดี เอ็นโอเอส (Pervasive Developmental Disorder Not Otherwise Specified; PDD-NOS)
            นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ออทิสติก (Autistic Disorder) และ ออทิสซึม (Autism) ในปี พ.ศ. 2556 จะใช้ชื่อทางการในระดับสากลเหมือนกันทั่วโลก คือ Autism Spectrum Disorder ส่วนชื่อเรียกในภาษาไทย คือ ออทิสติก
           โรคนี้เป็นกลุ่มของโรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใด ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาและสังคม โดยความรุนแรงของแต่ละโรคในกลุ่มแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางภาษา ไอคิว (Intelligence Quotient) และความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมด้วย
จากการสำรวจพบว่าเด็กเป็นออทิสติกมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในผลสำรวจเด็กที่ป่วยพบว่า กลุ่มเสี่ยง จะอยู่กลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอด หรือหลังคลอด อย่างเช่น สมองของลูกทำงานผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว หลังคลอดเป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงจะเป็นเด็กพิเศษทุกคน และเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็อาจเป็นออกทิสติกได้เช่นกัน

เด็กเล็ก อายุ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี

การรักษาโรคออทิสติก

กลุ่มโรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษา คือ การส่งเสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง และให้เด็กมีภาวะที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด
หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี มีวิธีการรักษาที่เหมาะสม คือ บูรณาการ การรักษาด้านต่างๆเข้าด้วยกันตามความจำเป็นของเด็กแต่ละคน
พ่อแม่และคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กมาก แพทย์จะให้พ่อแม่ของเด็กเป็นผู้ร่วมรักษาด้วย และแนะนำให้พ่อแม่กลับไปสอนหรือปรับพฤติกรรมเด็กที่บ้านได้ด้วยตัวเอง และนำเด็กกลับมาประเมินผล รวมทั้งรับคำแนะนำใหม่กลับไปปฏิบัติ
ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการออทิสติกโดยตรง แต่เด็กบางคนแพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

สรุป

แม้ว่ากลุ่มโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่เด็กอาจจะโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่ม 1 ใน 3 ที่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และมีโอกาสที่จะอยู่ในกลุ่ม 1 - 2% ของผู้ป่วยโรคนี้ ที่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่จะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เด็กมีระดับไอคิวมากกว่า 70 หรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วม เด็กสามารถพูดสื่อสารได้ก่อนอายุ 5 ปี และไม่มีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก เป็นต้น
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เด็กได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น

เด็กพิการซ้ำซ้อน


                เด็กพิการซ้ำซ้อน หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่ง  อย่างในบุคคลเดียวกัน เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับบกพร่องทางการเห็นกับบกพร่องทางการได้ยิน หรือบกพร่องทางได้ยินกับบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น
              บุคคลที่มีความบกพร่องดังกล่าวต้องได้รับการโอกาสทางการศึกษาตามกระบวนการจัดการศึกษาพิเศษซึ่งในปัจจุบันองค์การของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายโดยมีศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดทุกจังหวัดมีโรงเรียนเฉพาะความพิการนอกจากนั้นยังขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนเรียนร่วมเพื่อให้บริการแก่เด็กพิการหรือผู้มีความบกพร่องที่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษอย่างทั่วถึงและมีการประสานงานร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการพัฒนาผู้พิการในทุก ๆ ด้าน
              ญาอ่อน-ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด  เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) เด็กบกพร่องซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญ
            เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อนซึ่งบางที่อาจเรียกว่าเด็กพิการซ้ำซ้อน (Multiple Handicapped Children ) หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องทางอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (เช่น เด็กร่างกายพิการ แขน ขา ลำตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อน เป็นต้น) มากกว่า 1 อย่าง ในบุคคลเดียวกัน เช่น  เด็กปัญญาอ่อน ที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด เป็นต้น เด็กเหล่านี้อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการส่งเข้าเรียนในโครงการสอนเด็กปัญญาอ่อน  โครงการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย โครงการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา โครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะโดยไม่จัดบริการทางการศึกษา และบริการด้านอื่นเพิ่มเติม 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น