วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

13 กุมภาพันธ์ 2557

13  กุมภาพันธ์   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

****วันนี้นักศึกษาได้ออกมาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิษยา****

ภาพบรรยากาศการดูงาน







ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

การนำความรู้เรื่องการเรียนการสอนแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ เทคนิคและวิธีกรเก็บเด็ด การเตรียมเด็กก่อนขึ้นชั้นอนุบาล และการเรียนร่วมบางเวลาและเต็มเวลาของเด็กปกติกับเด็กพิเศษ

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

6 กุมภาพันธ์ 2557

6   กุมภาพันธ์   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

***เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดราชการนำนักศึกษาชั้นปีที่  4  ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี***

30 มกราคม 2557

30   มกราคม   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
กิจกรรมในห้องเรียน
***วันนี้เรียนเรื่องการดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ*** 
5 เรื่องไม่ควรมองข้ามในการดูแล "ลูกคนพิเศษ"
         หากได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่ของเด็กพิเศษ ทุกท่านคงหนีไม่พ้นการรับบทหนักในการดูแลลูกมากกว่าพ่อแม่คนอื่น ๆ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ด้วยวิธีการปกติตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูตามปกติ หรือการเรียนการสอนตามปกติทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่มีอยู่ในตัวเด็ก ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา พฤติกรรม อารมณ์ หรือสัมพันธภาพทางสังคม ซึ่งการดูแลเด็กกลุ่มนี้ จำเป็นต้องได้รับความเอาใจใส่ และความใกล้ชิดเป็นพิเศษ และคนสำคัญที่จะช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด ไม่ใช่โรงเรียน หรือใครอื่นใด แต่คือครอบครัวนั่นเอง
      
          "พ่อแม่หลายคนชอบตั้งความหวังกับโรงเรียน แต่กลับไม่เคยให้ความสำคัญกับลูกเวลาอยู่ที่บ้านเลย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากเด็กที่มาจาก 2 ครอบครัว เริ่มจากครอบครัวแรก เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งเวลา ความรัก และความเข้าใจ รวมทั้งพ่อแม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดี ส่วนอีกครอบครัวหนึ่ง คุณพ่อทำกิจการใหญ่โต ไม่มีเวลาดูแลลูก คุณแม่มีงานสังคมอยู่เรื่อย ๆ ส่วนเด็กอยู่กับคนใช้เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งครูพิเศษที่พ่อแม่จ้างมาสอนที่บ้าน ทั้ง 2 ครอบครัวนี้ เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าพัฒนาการของเด็กทั้ง 2 คนมีความแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่อาการเริ่มต้นมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้น โรงเรียนไม่ใช่เบอร์ 1 ค่ะ ครอบครัวต่างหากที่เป็นเบอร์ 1" ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเด็กพิเศษเผย
     ดังนั้น คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลเด็กพิเศษ แต่ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ บอกว่า การดูแลโดยการให้ความรักอย่างเต็มเปี่ยมอาจยังไม่เพียงพอ คุณพ่อคุณแม่ควรมีความรู้ ความเข้าใจ ประกอบกับมีเจตคติ และทัศนคติที่ถูกต้องด้วย และ 5 เรื่องต่อไปนี้คือสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามในการดูแลลูกคนพิเศษ เริ่มจาก
  
มีความมั่นคงทางอารมณ์
คุณพ่อคุณแม่ควรยอมรับให้ได้ก่อนว่า ลูกเป็นเด็กพิเศษ เมื่อยอมรับได้แล้ว สิ่งแรกที่พึงระลึกไว้เสมอก็คือ ความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่ทำอะไรผลีผลาม เช่น พยายามควบคุมอารมณ์เมื่อเห็นเด็กคนอื่นกำลังล้อเลียน หรือแกล้งลูก ด้วยการพาลูกเดินออกจากสถานการณ์ตรงนั้น และบอกให้เขาเข้าใจว่า ที่เพื่อนพูดแบบนั้น ถ้าเราไม่ได้เป็น ก็ไม่ควรไปสนใจ หรือถ้าเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นที่โรงเรียน ควรแจ้งคุณครูเพื่อให้ดำเนินการต่อไป ไม่ควรเข้าไปจัดการปัญหาด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้ปัญหาบานปลาย และตัวลูกเองอาจได้รับผลกระทบจากสังคมเพื่อนตามมาได้
       
 ไม่ทิ้งการรักษา
ถ้าได้รับการรักษาจากแพทย์ ไม่ควรทิ้ง หรือขาดช่วงการรักษา ควรติดตามการรักษา และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ซึ่งพ่อแม่หลายคนกังวลเรื่องผลข้างเคียงของการใช้ยาจนลืมมองถึงผลเสียจากการไม่รับประทานยาไป หากเด็กไม่ได้รับการรักษา และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงวัยที่เด็กเข้าสู่สังคมโรงเรียน อาจเกิดปัญหาตามมาได้ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียน แต่การใช้ยาควรใช้ร่วมกับการฝึกทักษะต่างๆ ที่จำเป็นไปพร้อม ๆ กันด้วย เช่น ฝึกวินัย ปรับพฤติกรรม เด็กจึงจะพัฒนาและมีความสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ดี

 ฝึกเป็นผู้สังเกตการณ์แทนครู
คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยรายงานพฤติกรรม หรือความเป็นไปเกี่ยวกับตัวลูกกับคุณครูที่โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ครูได้มีข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนาเด็ก และเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ควรรู้จักรับฟัง พร้อมกับแลกเปลี่ยนกับคุณครูเพื่อนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปพัฒนาลูกให้ถูกทางต่อไป
       
 อย่าเป็นพ่อแม่รังแกฉัน
เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านพยายามประคมประหงมลูกมากเกินไป หรือพูดง่าย ๆ คือ เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กพิเศษมากเกินไป เช่น ช่วยเหลือลูกทุกอย่างโดยที่เด็กไม่ได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง หรือไม่ได้รับการฝึกที่จะยืนได้ด้วยตัวเองเลย เนื่องจากมีพ่อแม่คอยปกป้องอยู่ตลอด เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจทำให้เด็กมีปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมตามมาได้ ทางที่ดีควรเลี้ยงลูกให้เป็นไปตามธรรมชาติ ปล่อยให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองบ้างในบางเรื่อง อย่างน้อย ๆ เป็นการเพิ่มทักษะให้ลูกได้รู้จักพึ่งพาตัวเอง และยืนได้ด้วยตัวของเขาเอง
       
หากิจกรรมทำร่วมกัน
หลาย ๆ ครอบครัวมุ่งเน้นแต่กิจกรรมนอกบ้าน แต่ไม่ค่อยมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในบ้านเลย  วันหยุดเสาร์-อาทิตย์แทนที่จะพาลูกออกไปเรียนตามสถาบันต่าง ๆ ควรมีกิจกรรมในบ้านที่ทำร่วมกันบ้าง เช่น นั่งรับประทานอาหาร อ่านหนังสือ เล่านิทาน หรือพากันไปออกกำลังกายตามสวนสาธารณะใกล้บ้าน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ นอกจากจะช่วยสานสัมพันธ์รักในครอบครัวแล้ว ยังช่วยให้ลูกมีการพัฒนาความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่ดีขึ้น
      
แน่นอนว่า การได้เห็นลูกมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพที่เขามีอยู่ คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนปรารถนา แต่ระหว่างทางที่ไปสู่จุดหมายนั้น เด็กต้องการเวลา ความรัก และกำลังใจดี ๆ จากพ่อแม่ หากทำได้เช่นนั้น เชื่อเถอะครับว่า จุดหมายปลายทางที่วาดหวังไว้รอคุณอยู่ไม่ไกลนับจากนี้



23 มกราคม 2557

23   มกราคม   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

กิจกรรมในห้องเรียน

Autism คืออะไร

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

เด็กที่เป็น Autism
เด็กปกติ
การสื่อสาร

ไม่มองตา
เหมือนคนหูหนวก
เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ดูหน้าแม่
หันไปตามเสียง
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
จำคนไม่ได้
เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
ดมหรือเลียตุ๊กตา
ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
เปลี่ยนของเล่น
การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
สำรวจและเล่นตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง
ความสามารถพิเศษ
เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก




วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

16 มกราคม 2557

16   มกราคม   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


****เนื่องจากความไม่สงบทางเมือง จึงทำให้มีการงดการเรียนการสอน
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ คือสรุปงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ปฐมวัย****




9 มกราคม 2557

9   มกราคม   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ

ภาวะการเรียนบกพร่อง(LD)

LD คืออะไร?
  •  ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
  • ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน
สาเหตุของ LD
  • ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  • กรรมพันธุ์
 คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก  LD
  • พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
  • แสดงความรักต่อเด็ก
  • มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
  • อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
  • ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน
  •  มีความคาดหวังที่เหมาะสม

เด็กสมองพิการ(CP)

          สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
สาเหตุ
          อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี


โรคสมาธิสั้น

        โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity) 



ดาวน์ซินโดรม

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
  • โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
  • โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
  • มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ



ท้ายคาบอาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ


Gesell Drawing Test


วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

2 มกราคม 2557

2   มกราคม   2557
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
EAED 2209 เวลา 15.00 - 17.30  กลุ่มเรียน 102
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

เทศกาลปีใหม่



เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
         
               
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
               
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

                
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
               
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
               
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
               
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

               
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
               
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
               
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
               
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ